-
มรณัสสติ
|
|
-
ต่อไปนี้ให้นึกถึงความตายที่จะมาถึงกายธาตุสังขารอยู่เป็นเนืองนิตย์
การนึกถึงความตายจะมาถึงนี้มีเหตุผลก็คือมรรค-ผล-นิพพานนั่นเอง
ผู้ปฏิบัติให้พิจารณาในทางมรณัสสติ อานาปานุสสติ
ให้รู้ซึ้งถึงความตายที่จะมาถึงตนเป็นที่แน่นอนแล้ว
จะเปลี่ยนแปลงมิได้แต่อย่างใดมีอยู่ทุก
ๆ ตัวคน
เป็นความแน่นอนไม่มีกาลไม่มีเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปไหนไม่มีพ้นแต่คนเดียว
ความตายนี้เป็นคนคนเดียวหนึ่งไม่มีสอง
เป็นความแน่นอนท่านจึงให้ดูลมหายใจเข้าออกของตนให้รู้อยู่เป็นเนือง
ๆ
อย่าให้ขาดสติเพราะลมหายใจเข้าออกนี้เป็นธรรมอันไม่ตาย
จิตวิญญาณที่ตัวรู้ของเราท่านก็จะได้เป็นไปตามที่ลมหายใจเข้าออกของท่านนั้นเอง
เรามาคนเดียว
เราก็ต้องกลับคนเดียวนั้นเอง
ฯ
|
|
-
ผู้ปฏิบัติจิตตนให้พิจารณาให้แจ้งให้ชัดเจน
ให้เห็นด้วยตนเองเราถึงจะได้แสวงทำแต่ความดี
อันเป็นสิ่งไม่ตาย
เราจะได้ละออกจากตัณหา
อวิชชาคือความมืดมิดที่ทำให้จิตใจมนุษย์และสัตว์หลงอยู่ในความโลภ
ความอยากไม่มีประมาณไปได้แต่อย่างใด
ทำจิตใจให้โกรธหึงหวงให้เป็นบ่วงร้อยรัดให้ติดอยู่ไม่รู้ประมาณ
ทำให้จิตใจเราไปตกอยู่ในความหลง
ให้เกิดเป็นความกลัว
ให้จิตใจเราสะท้อนในสิ่งต่าง
ๆ
หลงไปกลัวในอามิสทั้งปวง
หลงไปกลัวต่อโลกธรรมแปดประการ
หลงปิดทางนิพพานคือความสุข
ก็เพราะความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา
อวิชชาคือความมืดนั้นเอง
ฯ
|
|
-
ผู้ปฏิบัติมีสติปัญญารู้แจ้ง
รู้ถึงความตายที่จะมาถึงธาตุสังขารของตน
เป็นความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปได้
เวลาจิตใจเราอยู่ในโลกสังขารมนุษย์ชาย-หญิงนี้
เราก็อาศัยธาตุกายสังขารเวทนาอยู่
เราให้รู้ให้ชัดเจนว่า
ธาตุสังขารกายเวทนานี้
เขาต้องตายแตกดับไปทั้งรูปและนาม
ต้องพลัดพรากจากไปเป็นแน่นอน
ผู้ปฏิบัติชาย-หญิงต้องรู้ด้วยตนเอง ถึงเมื่อธาตุกายสังขารแตกดับด้วยจิตใจเราไปแล้ว
เราจะเอาอะไรมาเป็นที่พึ่งอาศัยของจิตใจคือตัวเรา
พระพุทธเจ้าท่านให้เอาพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
ทำจิตตนให้เบิกบาน ให้สว่าง ให้แจ่มแจ้ง
คือคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์
เป็นสรณะที่พึ่งอาศัย
สิ่งอื่น ๆ
จะยิ่งกว่าย่อมไม่มี ให้เอาจิตใจคือตัวเรา
ให้ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์หนึ่งไม่มีสอง
ที่ปราศจากอามิสทั้งปวง
อันนี้เป็นทางปฏิบัติ มรณัสสติ-อาณาปาณัสสติ
|
|