นำจิตเข้าสู่ดวงธรรม

 

               ผู้ปฏิบัติต้องปราศจากที่พึ่งที่อาศัยไม่มีที่อาศัยไม่มีแล้ว ถึงจะยกจิตใจของตนเข้าสู่ดวงธรรมได้ พุทธเจ้าถึงได้แนะนำสั่งสอนชี้ทางให้แก่ภิกษุ-สามเณร-ชี-พราหมณ์-อุบาสก-อุบาสิกา ไว้ว่า ให้นึกถึงความตายที่จะมาถึงตนเป็นเนืองนิตย์ดั่งนี้ ให้ดูลมหายใจเข้าออกเป็นนิตย์ ให้น้อมนึกถึงพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งที่อาศัย ให้ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์ดั่งนี้ เพราะสัตว์มนุษย์เราทุกๆท่าน ต้องกระทำจิตของตนให้จากที่พึ่งที่อาศัยให้หมดให้สิ้นไปเสียก่อนถึงจะนำจิตใจของตน ให้เข้าสู่ดวงธรรมพระรัตนตรัยได้ ถ้าท่านเหล่าใดยังมีที่พึ่งที่อาศัยในจิตใจของตนยังมีอยู่ ท่านเหล่านั้นจะนำจิตใจของตนว่าถึงดวงธรรมพระรัตนตรัยได้อย่างนั้นก็หาได้ไม่นะท่าน

 

               ส่วนจิตใจที่เป็นตัวตนบุคคลเราเขานั้นมาปฏิสนธิเกิดอาศัยร่างสังขารกายเวทนา ของมนุษย์และสัตว์อยู่ชั่วคราวเท่านั้น ถึงเมื่อเวลาสังขารตายแตกดับไปแล้ว ส่วนจิตใจของเราท่านก็จะออกเดินทางต่อไป จุติตามภพภูมิต่างๆไปด้วยการกระทำของตนตามกุศลและอกุศลบุญบาปนั้นเอง วนเวียนท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งสามนี้เอง ภพทั้งสามนี้ก็ไม่เที่ยงเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวเท่านั้น ไม่คงที่แต่ประการใด เป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆไป เพราะมันเป็นที่อาศัยพักผ่อนเพื่อสร้างกุศลและอกุศล ตามใจชอบของตนแต่ละท่าน เพราะภพทั้งสามนี้มันมีคู่ๆอยู่ภพทั้งสามนี้มีตั้งแต่ 2-3 ขึ้นไป 1 ไม่มี มันถึงเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวเท่านั้น มันไม่ใช่เป็นที่พึ่งที่อาศัยของจิตใจเราท่านหนึ่งไม่มีสอง คือพระรัตนตรัยนั่นเอง ถึงจะเป็นทางไม่เปลี่ยนแปลงไปได้ สิ่งอันใดเปลี่ยนแปลงสิ่งอันนั้นมีสอง สิ่งอันใดเปลี่ยนแปลงสิ่งอันนั้นประกอบทุกข์อยู่นะท่าน เพราะมันมีคู่กันอยู่  มันถึงมีทุกข์อยู่เช่นมีเกิดต้องมีตาย เช่น  มีคิดดีต้องมีคิดชั่ว ถ้ามีสุขก็ต้องมีทุกข์ ท่านถึงได้เรียกว่า 2-3 ต้องลุกลามเผาตนเอง โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นตัวตนหารู้ได้ไม่ เราต้องปราศจากละเว้นปล่อยวางให้สิ้นไปทั้งหมด เราไม่มีอะไรแล้วนั่นแหละถึงจะใช้ปัญญา-สติของตนน้อมนำจิตใจของตนให้เข้าสู่พระรัตนตรัย มาเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้ หนึ่งไม่มีสอง ไม่มีเกิดไม่มีตาย สิ้นขาดจากทุกข์ทั้งปวงคือ พระนิพพานนั้นเองดังนี้นะท่านชาย-หญิง

 

เวลา..วันที่..ขณะนี้...

 

 

Created on..............: Sat, Jul 13, 2002

ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลครั้งหลังสุด  23/10/2562 10:16:02

ติดต่อผู้ดูแล web:  webmaster@luangpochom.com

luangpochom