-
โทสะ
|
|
-
ครั้งต่อมา
อาตมาได้พิจารณา
เพื่อหาทางละโทสะ
เป็นอันดับต่อไปโทสะนี้สิงอยู่ในจิตใจ
ถ้วนทั่วทุกตัวคนทั้งมนุษย์และสัตว์
ครั้นจะละเขาจริงๆ
ก็มืดมิดอุดตันไปหมดไม่รู้จะละที่ไหน
ละอย่างไร
เพราะเจ้าโทสะนี้มันแฝงเราอยู่ไม่มีตัวตน
มันปิดตาปิดใจของเราไว้
ไม่ใช่วัตถุสิ่งของจับตัวมันได้ยาก
อุปมาดังคนตาบอดคลำช้าง
|
|
-
อาตมาจึงหันหน้าเข้าสู่องค์สมาธิตามเคย อุตส่าห์ทำความเพียรพิจารณาอยู่ถึงเจ็ดวัน
ตั้งใจพิจารณาอยู่จุดเดียวเท่านั้น
คือ โทสะ
ในตอนก่อนรุ่งอรุณของวันที่เจ็ดนั้นเอง
ขณะนั้นจิตของอาตมาสงบดีมาก
จนหาที่เปรียบมิได้
จึงบังเกิดแสงสว่างพุ่งไปเบื้องหน้า
มองเห็นสภาพขององค์พระธรรม
ท่านประทับยืนอยู่ตรงหน้า
แล้วมีพระดำรัสขึ้นว่า
|
|
-
ท่านๆ
ท่านจะละโทสะ
ให้ท่านละความหึงหวงเสียนะ
พอสิ้นเสียงพระดำรัส
อาตมาก็พิจารณาได้ทันทีว่า
ความหึงหวงนี้เอง มันเป็นต้นกำเนิดของโทสะ
ความหึงหวงนี้มันมีอยู่หลายประการ
ความหึงหวงในอำนาจวาสนา
ตำแหน่งหน้าที่ยศศักดิ์
ฤทธิ์เดช
อย่างหนึ่ง
ความหึงหวงในวัตถุสังขาร
ทั้งที่มีใจครองและไม่มีใจครองอย่างหนึ่ง
เช่น
ทรัพย์สมบัติ
ข้าทาสบริวาร
แล้วก็เอาใจเข้าไปยึดถือว่าเป็นของตน
ถ้ามีผู้อื่นพาเคลื่อนไป
หยิบไป
ขโมยเอาไป
หรือทำให้เสียหาย
ขัดใจหรือขัดขวางงานของตน
จะเกิดโทสะ
เกิดความโกรธพยาบาทปองร้าย
จองเวรขึ้นทันที
เกิดความริษยาอาฆาต
เกิดความทุกข์ไม่สบายใจ
หน้าบูดเบี้ยวเหยเก
ออกงิ้วออกโขน
กล่าวคำผรุสวาท
ออกมา
ฉะนั้น
มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
ที่ถูกโทสะครอบงำอยู่เวลานี้
เพราะความหึงหวงนั้นเอง
เป็นต้นเหตุแห่งความโกรธ
เมื่อเราตัดเหตุ คือความหึงหวงเสียได้
ตัดไฟเสียแต่ต้นลม
แล้วผลของมัน
คือความโกรธ
จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
|
|
-
พออาตมาพิจารณา
เห็นเหตุ
เห็นผล
เห็นความจริงเช่นนี้แล้ว
สภาพองค์พระธรรมท่านก็ค่อยๆ
เคลื่อนหายไปในอากาศ
|
|
|