-
โลกุตรธรรม
|
|
-
ผู้ซึ่งจะนำตนดำเนินไปสู่โลกุตรธรรมนั้น จะต้องเป็นผู้สันโดษมักน้อย
ไม่เกรงกลัว
หวั่นไหวต่อโลกธรรมแปดประการซึ่งครอบงำตนอยู่ โลกุตรธรรมนี้คือศีลเป็นหลัก
สมาธิเป็นเหตุ
ปัญญาเป็นผล
นั้นเอง
อาตมาภาพจะขอกล่าวถึง
การปฏิบัติธรรมทางโลกุตรธรรมไว้แต่พอเป็นแนวทางย่อ
ๆ
เพราะอาตมาไม่เคยเรียนปริยัติมาก่อน
มีแต่มุ่งหน้าปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้
เป็นแนวทางให้สาวกปฏิบัติให้ถูกทางเท่านั้น
|
|
-
ศีล-สมาธิ-ปัญญา
ทั้งสามอย่างทิ้งกันไม่ได้เพราะอะไร
ก็เพราะว่า
ศีลเป็นที่ยึดมั่นถือมั่น
ในทางละทางเว้น
ในทางที่ทำให้สิ้นไป
ปราศจากไป
พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติไว้
|
|
-
สมาธิ
เป็นสิ่งที่ทำให้กายกรรม
วจีกรรม
มโนกรรม
ที่มีอยู่ให้สิ้นไปสงบไป
เป็นการระมัดระวังป้องกัน
มิให้กรรมดังกล่าวแล้วเกิดขึ้นอีก
ให้มีสมาธิ
มีสติตั้งมั่น
เว้นจากกามกิเลสความรักความใคร่ยินดีทั้งหลายให้ขาดสิ้นไป
จากสันดานของตนโดยสิ้นเชิง
|
|
-
ปัญญา
เป็นหน้าที่ที่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญ
ไม่ล่วงเกินพระวินัยในสิ่งที่พระพุทธเจ้าห้าม คือสิ่งที่เป็นกิเลสกาม
และวัตถุกามทั้งหลาย
มิให้ติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้นโดยเด็ดขาด
ให้รู้สังขารที่เวียนว่ายเกิดตายอยู่ในภพทั้งสาม จะได้ไม่ติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น
|
|
-
ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
จะต้องมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
ซึ่งล้วนแต่เป็นการปฏิบัติทางโลกุตรธรรมอย่างแท้จริง
อาตมาได้ปฏิบัติตามมารู้หนทางที่แท้จริง
ก็เพราะศีล-สมาธิ-ปัญญานี้เอง
อาตมาเคยปฏิบัติมาหกปีเศษตามประวัติข้างต้น ก็ยังไม่ได้รู้แจ้งเห็นจริง
ไม่เป็นสิ่งที่จะออกจากกามทั้งหลายได้เลย
อาตมาจึงได้มาหาทางหันมาปฏิบัติตามศีลทั้งสิบสิกขาบท
จึงได้พ้นออกจากกามทั้งหลายได้
จะรู้ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค
รู้แจ้งเห็นจริงในตัณหาทั้งปวง
ก็เพราะศีล-สมาธิ-ปัญญา
อาตมาได้พิจารณาละเว้นตามศีลสิกขาบทมีต่อไปนี้
|
|
-
1. ปาณาติปาตา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการฆ่าสัตว์สิ่งที่มีชีวิตให้ตายด้วยตนเอง
หรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
ไม่เบียดเบียนทำร้ายเว้นทั้งทางกาย-วาจา-ใจ โดยสิ้นเชิง
|
|
-
2.
อทินนาทานา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการขโมยยักยอก
ฉ้อโกงสิ่งของของเขาด้วยตนเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นทำ
ไม่โลภอยากได้ของเขา
เว้นหมดทั้งกาย-วาจา-ใจ
ให้หมดสิ้นไป
|
|
-
3. อะพรัหมะจะริยา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
ห้ามไม่ให้ประพฤติอัสธรรม
ในสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
ให้ละเว้นจากการเสพเมถุนทั้งหลาย
จงเว้นทั้งกาย-วาจา-ใจ
ละให้ได้โดยสิ้นเชิงเด็ดขาด
|
|
-
4.
มุสาวาทา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจาการพูดจาล่อลวงท่านผู้อื่น
หรือใช้ให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
เว้นหมดทั้งกาย
วาจาและทางใจ
โดยสิ้นเชิง
|
|
-
5.
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
ซึ่งเป็นเครื่องดองของเมา
ย้อมใจให้คลั่งไคล้หลงใหลต่าง
ๆ
ให้ละโดยทางกาย-วาจา-ใจ
ให้สิ้นเชิง
|
|
-
6. วิกาละโภชะนา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล
ตั้งแต่พระอาทิตย์เลยเที่ยงไปแล้ว
ตลอดถึงรุ่งอรุณวันใหม่
ให้ละเว้นทางกาย-วาจา-ใจ
โดยสิ้นเชิง
|
|
-
7.
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการดู ฟัง เต้นรำ
ขับร้อง
ประโคมดนตรีต่าง
ๆ
ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อกุศลคือความสงบทั้งหลาย
ให้ละเว้นทั้งทางกาย-วาจา-ใจ
โดยสิ้นเชิงให้สิ้นไป
|
|
-
8.
มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฎฐานา เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการทัดดอกไม้ของหอม
เครื่องย้อมเสริมทรงผัดผิวต่างๆ
ล้วนแต่เป็นสิ่งซึ่งเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
ให้เว้นเสียทั้งทางกาย-วาจา-ใจ
โดยเด็ดขาด
|
|
-
9. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง
มีเท้าสูงเกินกว่าประมาณ
หรือเป็นที่นั่งที่นอนอันใหญ่หนา
มีภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี
ล้วนแต่เป็นของที่งดงามอันวิจิตรตระการตา
มีค่าเป็นเงินทอง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้
ล้วนแต่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
ให้งดเว้นเสียให้หมดทั้งทางกาย-วาจา-ใจ
|
|
-
10. ชาตะรูปะระชะตะปะฎิคคะหะณา
เวระมะณี
สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
เว้นจากการจับต้องทองเงินต่างๆ
ที่ใช้ซื้อขายกันภายในประเทศเหล่านั้น
หรือวัตถุสิ่งของอื่นใดที่ใช้แทนเงินหรือทอง ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรทำการจับต้องซื้อขาย
มิให้ยินดีในเงินและทองให้งดเว้นโดยทางกาย
วาจา
และใจให้หมดไปสิ้นไป
ปราศจากไปเสียโดยสิ้นเชิง
|
|
-
นี้แหละผู้ปฏิบัติทั้งหลาย
ผู้ที่สนใจกระทำความเพียร
ในทางสมาธิกรรมฐาน
อย่าได้มีความลังเลสนเท่ห์ใจ
ไปในทางที่ผิดอื่นใดเลย
นอกจากพระธรรมพระวินัยแล้ว
ย่อมมิสามารถจะทำให้เกิดเป็นมรรคผล
ในทางบั่นทอนเพิกถอนจากกิเลสราคะได้เลย
เพราะเหตุว่าอาตมา
เคยเป็นผู้พยายามค้นคว้าหาช่องทาง
หนีออกจากกิเลสเหล่านี้มาหลายปี
ก็ไม่ได้พบหนทางที่จะตัดวัฏฏะได้เลย
อาตมาจึงได้มาค้นคว้าตามศีลสิกขาบททั้งสิบประการ ดังกล่าวมา
จึงได้รู้แจ้งเห็นจริง
เพราะพิจารณาตามหลักดังนี้คือ
|
|
-
1. พิจารณาตามศีลทั้ง
10 สิกขาบท
ที่มาในพระปาฏิโมกข์
|
|
-
2.
สมาธิ
เป็นศีลอย่างกลาง
สามารถนำความสว่างเข้าไปได้ชั้นหนึ่ง
|
|
-
3. กรรมฐาน
คือศีลอย่างละเอียด
สามารถนำความสว่าง
เข้าไปได้ถึงชั้นที่สอง
ผู้ปฏิบัติจะเห็น
ได้เพียงกลางๆ
|
|
-
4.
ปัญญา เป็นศีลที่ประณีต
สามารถทำลายความยึดถือในสังขารตัวตนลงไปได้อย่างสิ้นเชิง
มิ ให้ติดอยู่ในกองสังขาร และวัตถุต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในภพทั้งสามนี้
สามารถนำความสว่าง
เข้าไปสู่พรหมจรรย์ได้อย่างเด็ดขาด
มองเห็นแดนพุทธภาวะ
หรือทางพระนิพพานได้อย่างชัดเจน
|
|
-
ต่อจากนี้
อาตมาจะขอกล่าวถึงสายเอก
คือจิตของผู้ปฏิบัติที่เดินตามแนวเอกัคตา
ให้ท่านทราบไว้เพียงย่อ
ๆ
เพื่อเป็นแนวทางสืบต่อไป
|
|
-
จิตที่เป็นเอกัคตานั้น
คือจิตของผู้ปฏิบัติผู้เดินสายเดียวนั้นเอง จิตเอกัคตานี้
จะบังเกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ซึ่งมีสัจจะธรรม
มีศีลโดยสมุจเฉทวิรัติ
(ละโดยสมุจเฉทปหาน)
คือผู้ซึ่งมีศีลบริสุทธิ์
(อินทรีย์สังวร)
สมาธิก็เกิดขึ้นเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติอื่นใดที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยศีล
จะทำจิตให้เป็นเอกัคตาย่อมไม่ได้ยั่งยืนตลอดไป เพราะมีวิจิกิจฉาลังเลสงสัย
ยืดถืออยู่ในโลกบ้าง
ธรรมบ้าง
บุญบ้าง
บาปบ้าง
ฉะนั้นจิตชนิดนี้จึงเรียกว่าโลกียจิต
เป็นจิตที่ยังต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในภพทั้งสาม
เพราะยังหมกมุ่นอยู่ในกามราคะ
กามกิเลสทั้งหลายนี้มันเป็นของชาวบ้านผู้ครองเรือน
มันเป็นจิตของผู้ซึ่งยังมีความกำหนัดรักใคร่อยู่ เป็นจิตของผู้มากเมาเพ้อคลั่งไคล้หลงใหลอยู่
|
|
-
ขอให้ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจงเดินตามจิตเอกัคตา ตามศีล-สมาธิ-ปัญญายึดพระนิพพานเป็นอารมณ์หนึ่งไม่มีสอง
นี้แหละท่านเรียกว่าจิตเอกกัคตา
จะรู้ได้ก็จำเพาะผู้ปฏิบัติโดยตรง
ผู้ซึ่งเดินตามพระธรรมวินัยไม่เอนเอียงเท่านั้น ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจงมุ่งหน้ากันเถิด สังขารไม่คอยเราหรอกแก่เฒ่าลงไปทุกวัน เมื่อท่านออกจากกามได้แล้วนั้นแหละ ท่านจะรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ทั้ง
4 ได้อย่างชัดเจน
ทุกข์ทั้ง 4
นั้นคือความเกิดเป็นทุกข์
ความแก่เป็นทุกข์
ความเจ็บไข้เป็นทุกข์
ความตายเป็นทุกข์
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจงตรองดู
อย่าหลง
ขี้ผงจะเข้าตา
หนทางพระศาสดาคือโลกุตรธรรมนั่นเอง
รวมความว่าสมณะ-ชี-พราหมณ์
ผู้ที่จะเดินตามทางโลกุตรธรรมนั้น
|
|
-
1.
จะต้องเป็นผู้มีสัจจะ
|
|
-
2.
มีศีลบริสุทธิ์
|
|
-
3.
ต้องอธิฐานตนเองเป็นภิกษุหรือสามเณรโดยแท้
|
|
-
4.
ต้องเป็นผู้มักน้อย
ฉันอาหารวันละหนึ่งมื้อตลอดไป
และให้พิจารณาตนเอง
ให้เป็นผู้บริสุทธิ์
เจริญกรรมฐานห้าอยู่ทุกอิริยาบถทั้ง
4 คือ ยืน-เดิน-นั่ง-นอน
จนเกิดมีปัญญารู้เท่าสังขารของตน
ไม่ติดอยู่แต่อย่างใด
เพื่อจะได้ละอาสวะกิเลสในตนของตนให้หมดไป
|
|
-
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายที่จะมุ่งหน้าไปสู่พระนิพพานคือเมืองแก้ว
ตามที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ตรัสรู้มาแล้วทั้ง
4
พระองค์ในพุทธกัปนี้
ยังมีผู้ปฏิบัติทั้งชายและหญิงนับเป็นล้านเป็นแสน
ที่ปฏิบัตินำหน้าพวกเราชาวพุทธไป
อย่าลังเลว่าจะไม่มีพวกมีเพื่อนไปสู่เมืองพระนิพพาน
ไม่ควรสงสัยลังเลติดอยู่ในภพทั้งสามนี้เลย ทางโลกุตรธรรมนี้
คือทางพระนิพพานโดยตรง
ผู้ไปทางนี้ต้องทำลายทิฐิทั้งสาม
ต้องละมรดกของตัณหาพญามารให้หมดให้สิ้นไปเสียก่อน
เพราะมันเป็นข้าศึกพรหมจรรย์
ทำลายให้หมดสิ้นด้วยสมาธิ
โดยผู้ปฏิบัติต้องยึดสิกขาบททั้ง
5
ไว้เพื่อพิจารณาเมื่อรู้แล้ว-เห็นแล้ว
จะได้ทำการปล่อยวางเสีย
ไม่ติดอยู่ในทิฐิดังต่อไปนี้
|
|
-
-
-
1. สักกายะทิฐิ
|
|
-
-
-
2. วิจิกิจฉา
|
|
-
-
-
3. สีลัพพตปรามาส
|
|
-
ทั้งสามข้อนี้ต้นเหตุใหญ่
รวมอยู่ที่สักกายะทิฐิ
(สักกายะทิฐิ
หมายถึง
การหลงเอาความรู้สึกว่าเป็นตัวตน
ผูกพันไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขันธ์ห้า)
อยู่วงเดียวกันทั้งสิ้น
จงพิจารณาในตนของตนให้รู้แจ้งเห็นจริง
ว่าอะไรเป็นอะไร
ให้ดูที่ตนของตนจนไม่มีที่สงสัยลังเล
|
|
-
สักกายะทิฐิ
นี้แปลว่าความเห็นผิดและยึดมั่นอยู่
ถือตัวถือตนว่าเป็นแก่นสาร
ยึดรูปยึดนาม
หลงผิดอยู่ในสันดาน
อันเป็นความเห็นผิด
ผูกใจไว้ให้ไหลไปสู่อบายภูมิ
|
|
-
วิจิกิจฉา
แปลว่าความสงสัยลังเล
เช่นไม่เชื่อว่า
พระรัตนตรัยเป็นเครื่องดับทุกข์ได้จริง
เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง
จึงติดอยู่ในภพ
ไม่สามารถจะพ้นทุกข์ได้
|
|
-
สีลัพพตปรามาส
แปลว่าถือไม่จริง
ปฏิบัติไม่จริง
รักษาศีลไม่จริง
หยิบ ๆ
วาง ๆ
ขาดบ้างต่อบ้าง
ไม่เอื้อเฟื้อต่อศีลสิกขาบท
ไม่ถือศีลโดยสมุจเฉทปหาน
(ศีลไม่บริสุทธิ์
กิเลสมันไม่ตาย)
เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง
ทั้งวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
ทั้ง 2
ข้อนี้เหตุเนื่องมาจากผู้นั้นยังติดอยู่ในสักกายะ ยึดมั่นถือมั่นอยู่
ผู้ที่ละสักกายะทิฐิได้โดยสมบูรณ์แล้ว
จะไม่มีการหวั่นไหวอีกต่อไป
คงยึดเอาศีล-สมาธิ-ปัญญา
มาเป็นที่พึ่งที่อาศัย
มีสัมมาทิฐิสมบูรณ์หมดจดดีแล้ว
เป็นการทำลายสักกายะทิฐิ
วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
ให้หมดสิ้นไม่มีเหลืออยู่ในตนของผู้ปฏิบัติอีกสืบไป
ผู้นั้นจะรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง
สามารถมองเห็นสภาพพระธรรมพระวินัยได้ลาง
ๆ
แต่ยังไม่สว่างชัด
|
|
-
กามทิฐินั้นมีอยู่หลายประการ
กามทิฐิและพยาบาททำให้เกิดภพทั้งสาม
ผู้ปฏิบัติจะพิจารณาตรวจดู
เพื่อละสิ่งเหล่านี้
ต้องยึดต้องอาศัยศีลสิกขาบทในข้อ
8 (9 สิกขาบท)
ไว้เป็นหลัก
ทิฐินี้เองที่อิงที่อาศัยอยู่ในจิตทั้งชายหญิง ให้ติดให้หลงอยู่ในความรักความใคร่ ความกำหนัดยินดีต้องเสพเมถุนธรรม
อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเพลิดเพลินอาลัยใยดีทั้งหลาย
กามทิฐินี้เองทำให้เกิดความหึงหวงยึดถือว่าเป็นของตน
ทำให้เกิดความพยาบาทจองเวร
ปรารถนาต่าง
ๆ
กันไปในภพทั้งสาม
หลงวนอยู่เรื่อยไปไม่สามารถจะตัดอาลัยลงได้
|
|
-
ทิฐิความเห็นผิดเหล่านี้ยังอยู่อีกคือ วัตถุกามทิฐิ
ทำให้เกิดลังเลสงสัย
ในโลกธรรมแปดประการ
เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง
ทำให้เกิดโลภะ-โทสะ-โมหะ
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายให้ยึดศีลข้อที่
10 (มีอยู่ 30
สิกขาบท)
เป็นแนวทางเพื่อพิจารณา
จะได้รู้ได้เห็นทุกข์โทษของวัตถุกามทั้งหลาย แล้วทำการปล่อยวางเสียได้ไม่ยึดถืออีกสืบไป
วัตถุกามที่เห็นผิดยึดมั่นถือมั่นอยู่ทั้งหลายเหล่านั้นคือ
แก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดา
ฯลฯ
หลงนับถือกันว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิในโลก
สามารถบันดาลสิ่งต่าง
ๆ
ให้กับตนเองได้
ล้วนทำให้เกิดความทะยานอยากต่างๆ
นานา
ทำให้เกิดลังเลเข้าใจผิดทางพระพุทธศาสนา
เห็นทางพระนิพพานว่าไม่ใช่ทาง
หลงอยู่ในโลกธรรมแปดประการ
หลงอยากในภพ
หึงหวงในภพ
โลภ-โกรธ-หลง จนเป็นทิฐิ
|
|
-
นี่แหละผู้ปฏิบัติซึ่งความปล่อยวางทั้งหลาย ทิฐิเหล่านี้มันทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
ผู้ใดยังติดอยู่ข้องอยู่
ในสิ่งเหล่านี้ หมายความว่าผู้นั้น
ยังเป็นทาสของตัณหาราคะ
ขอให้ผู้นั้นจงยกจิตขึ้นสู่สัจจะธรรม
ปฏิบัติตามศีลโดยสมุจเฉทวิรัติ
ยึดสติเข้าไปสู่ศีล-สมาธิ-ปัญญา
ยึดสัมปชัญญะเข้าไปสู่ศีล-สมาธิ-ปัญญา
ยึดปัญญาให้รู้เท่าสังขารและวัตถุในโลก
ไม่ให้ติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้
ด้วยปัญญานั้นเอง
จึงทำการปฏิบัติเข้าสู่อสังขตธรรม
อมตะธรรมในที่สุด
|
|
-
ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย
ถ้าท่านปฏิบัติได้ดังกล่าวมานี้
รู้แล้วเห็นแล้วเป็นความจริง
ไม่มีจิตกลับกลอกนอกเหนือพระธรรมพระวินัย
มีกระแสจิตมุ่งหน้าไปสู่พระนิพพานธรรม
ออกจากนิพพานธรรม
มุ่งหน้าเข้าสู่อมตะธรรม
เข้าสู่นิพพานธาตุ
ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
|
|
-
ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง
ยังไม่สว่างในพระธรรมพระวินัย
ก็ยังไม่ได้เป็นผู้รู้เท่าทันสังขารของตนและของผู้อื่น
สังขารของมนุษย์ทุกคนทุกรูปทุกนาม
มีแต่หนังหุ้มกระดูกผูกแขวนคอ
ดูไปดูมาเนื้อก็จะเปื่อยผุ
หนังก็จะหลุดเน่าไป เหลือแต่กระดูกผูกแขวนคอ
หลุดหายกลายเป็นชิ้น
ๆ
มีถมไปอยู่ในป่าช้า
ไม่มีใครนำติดตัวไปได้
เมื่อตายแล้ว อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา
พระพุทธเจ้าได้สอนไว้เป็นทางพระนิพพาน
ผู้ปฏิบัติมองเห็นได้แล้ว
เหมือนพบแก้วสารพัดนึก
|
|
-
ดูก่อนผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายหากท่านแยกสังขารได้แล้วยังไม่มีความสว่างแจ่มแจ้ง
ขอให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาดูสัญญาขันธ์
สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์
|
|
-
สัญญาณขันธ์
นั้นคือสิ่งจำได้หมายรู้ในสิ่งต่าง
ๆ
|
|
-
สังขารขันธ์
นั้นรู้ได้ว่าเป็นของสั้น
ดำ
แดง
ยาว
รูปลักษณ์ต่าง
ๆ
|
|
-
วิญญาณขันธ์
นั้นรู้ได้ว่าสิ่งดี-ชั่ว-หยาบ-กลาง
และละเอียดประณีต
เป็นสิ่งมีราคาหรือไม่มีราคาสำหรับประดับโลกเรานี้
|
|
-
ขอให้ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย
พิจารณาแยกเบญจขันธ์คือ
รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ
มาเป็นสติสัมปชัญญะ
ปัญญา
แยกสัญญาในสัญญา
ในสัญญาขันธ์
มาเป็นสติ
ให้ละสัญญาอุปทานให้สิ้นไป
ยึดสติเป็นอารมณ์
สังขารขันธ์ยึดถือมั่นอยู่ในภพทั้งสามนี้ให้สิ้นไป
มีแต่สัมปชัญญะรู้ตัวอยู่
|
|
-
ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย
จงพิจารณาในวิญญาณขันธ์
วิญญาณในวิญญาณของในวิญญาณขันธ์นั้น
ให้เป็นปัญญา
ดับสิ่งในวิญญาณขันธ์
ที่จำได้หมายรู้อยู่ในภพทั้งสาม
ให้เหลือแต่ปัญญาซึ่งรู้เท่าสังขาร
สำหรับวัตถุในโลกนี้
ไม่ให้ติดอยู่
ตัดวัฏฏะสงสารมิให้เวียนว่ายตายเกิดอีกสืบไป ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
|
|
-
อันนี้แหละผู้ทำเพียรทั้งหลาย
ถ้าท่านแยกปัญญาในปัญญามาเป็นสติได้แล้ว
จะมีความสว่างเกิดขึ้น
มองเห็นสภาพของพระอริยสงฆ์เสด็จมาประทับอยู่ตรงหน้า
ปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติเสมอไป
|
|