-
อามิสบูชาคืออะไร
|
|
-
ต่อไปนี้เป็นหลักศรัทธา
ในทางอามิสบูชากราบไหว้เคารพ
อันเป็นสื่อให้ทำความดี
ในทางมนุษย์สมบัติ
สวรรค์สมบัติ
นิพพานสมบัติ
เป็นสมบัติโดยชุ่มชื่นให้จิตใจผ่องใสโดยหมดจด เป็นศรัทธาบารมีเป็นสายทางนำจิตใจเข้าไปสู่การปฏิบัติบูชาต่อไป
เพราะมนุษย์และสัตว์ติดอยู่ในอามิสวัตถุเป็นส่วนมาก
ต้องมีจิตใจเสียสละอามิสบูชาให้เป็นทานเสียก่อน ถึงจะข้ามโอฆะไปได้
เพราะความเสียสละนั้นเอง
เราถึงจะเอาชนะจิตใจเราได้
ต่อไปเราจะทำอะไรถึงเกิดผล
เพราะศรัทธาอามิสบูชานั่นเอง
แม้แต่ธาตุกายสังขารที่ท่านชาย-หญิงอาศัยอยู่นี้ก็เป็นอามิสนะท่าน
ถ้าไม่เอากายสังขารของท่านเป็นอามิส
บูชาต่อพระพุทธ
พระธรรม
พระอริยสงฆ์เสียก่อน
ท่านจะทำสมาธิปฏิบัติบูชาไปได้อย่างไร
การปฏิบัติบูชานั้น ต้องพร้อมกายสังขารที่เป็นอามิส
ให้เป็นเครื่องอามิสบูชาด้วยไม่ใช่หรือ
จิตเราถึงจะไม่กลับกลอกเกิดดับ
ๆ
จะไม่มีแก่ท่านผู้ปฏิบัติเหล่านั้น
ให้พิจารณากันดูบ้างได้แต่พูดที่ได้ยินได้ฟังสืบ
ๆ
กันมาก็พูดไปว่า
ปฏิบัติบูชาได้บุญมากกว่า
แต่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ในทางการปฏิบัติเลยไปลม
ๆ แล้ง ๆ
ไม่รู้ความพร้อมเพรียงกันบ้าง
ในโลกนี้อามิสบูชานี้
เพราะอามิสบูชานี้เป็นการปราศจาก
ละเว้น
ส่งคืน
ไม่อาลัยในสิ่งเหล่านั้นแต่อย่างใด
เพราะเราถวายเป็นอามิสบูชาไปแล้ว
ก็เหลือแต่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของใจคือ
พระพุทธ
พระธรรม
พระอริยสงฆ์
นั้นเองฯ
|
|
-
ผู้ไม่รู้คือโลกบังธรรมอยู่นั่นเอง
ศีลธรรมพระพุทธเจ้าปฏิบัติไว้มิได้ปฏิเสธผู้กระทำผิดแต่อย่างใด
ผู้เลิกละจากการทำชั่วได้แล้ว
ศีลธรรมย่อมงอกงามแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นอยู่เสมอ
ๆ ไป
จิตใจของนักบวชชาย-หญิงที่ยังไม่ถึงศีลธรรม ย่อมหวั่นไหวต่อโลกธรรมแปดประการ
อดทนอยู่มิได้เพราะคำพูดเขาว่านานาประการ
ยังมีพระภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในปัจจุบันนี้ถูกเขาว่าดังนี้
"การบวช
เพื่อป้องกันการอดตายเท่านั้น"
พระภิกษุรูปนั้นพอได้ยินก็โกรธ
เกิดความเห็นผิดต่อศีลและธรรม
เลยเกิดโทสจริตเห็นผิดในทางนักบวชไปทั้งหมด เลยทนอยู่มิได้ต้องสึกออกไปเป็นขี้ข้าตัณหาจนเท่าวันตาย
ทำไมหนอเราไปเป็นขี้ข้าเขา
ทำไมทนอยู่ได้จนตาย นี้แหละพระภิกษุ-สามเณร-ชี-พราหมณ์นักบวชทั้งหลาย
ท่านเรียกว่าโทสะจริตเกิดแก่จิตใจที่ได้ยินได้ฟังในโลกธรรมแปดนานาประการ
เรานักบวชต้องระวังใจเราไว้
อย่าหวั่นไหวต่อลมปากเหล่านี้เป็นอันขาดนะท่านนักบวชชาย-หญิง
ฯ
|
|
-
คนเราที่เกิดมาส่วนมากเห็นอะไร
ย่อมเพลิดเพลินในสิ่งนั้นอยู่เสมอไป
ได้ยินเสียงก็ชอบเอาจิตใจไปจดจ่อในเสียงนั้น
ๆ
เสมอไป
แต่ไม่รู้อะไรเป็นอะไรดังนี้
คนยุคนี้สมัยนี้ถึงไม่รู้แจ้งในศีลและธรรมได้ง่าย
ๆ
เพราะไม่รู้ทุกข์ไม่รู้สุขนั่นเอง
ถ้ารักก็หลงรักอยู่นั่นเอง
ไม่รู้ความเกลียดจะมาถึง
ถ้าเกลียดก็เกลียดอยู่นั่นเอง
ไม่รู้ความเศร้าใจที่เกิดอยู่ในตน
คนยุคนี้สมัยนี้เป็นดังนี้ถึงไม่รู้แห่งธรรมไปได้
เพราะเหตุนี้ถึงไม่รู้คุณธรรมที่ปราศจากทุกข์ไปได้
ไปหลงสังขารตนและผู้อื่นเป็นสุข
หลงไปถือว่าสังขารเป็นตัวตนบุคคลเราเขา
ไม่รู้ว่าร่างของเขาสะสมจิตวิญญาณ
ทุกข์อันใดจะยิ่งกว่าสังขารย่อมไม่มี
มนุษย์คนเราที่เกิดมาหลงทุกข์อยู่เพราะบ้านไม่มี จิตทั้งหลายหลงทุกข์อยู่เพราะร่างกายสังขารไม่เป็นปกติ
เพราะกายสังขารที่เกิดมาไม่เที่ยง
เกิดก็เป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์
จะตายก็เป็นทุกข์
ถึงได้เรียกว่า
ทุกข์อันใดจะยิ่งกว่าสังขารย่อมไม่มีดังนี้
เพราะคนยุคนี้สมัยนี้ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์
ถึงมิได้บรรลุธรรมไปได้ง่ายๆ
เหมือนยุคในสมัยพระพุทธเจ้า
เพราะคนยุคนี้สมัยนี้ไปถือความงม
ๆ
งาย ๆ ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์เพราะอะไรนั้นเอง หลงรูป-หลงเสียง-หลงเพลงระบำขับร้องต่าง
ๆ
ก็เพราะคนเราหลงอยู่ในสังขารตนและผู้อื่นนั้นเอง
ถึงได้กล่าว่าทุกอันใดจะยิ่งกว่าสังขารย่อมไม่มี ผู้ปราศจากออกจากทุกข์ได้เป็นสุขอย่างยิ่ง
จะเอาอะไรที่อยู่ในภพทั้งสามมาเปรียบเอามาเทียบให้ดูให้เข้าใจ
ย่อมไม่มีในภพทั้งสามนี้แต่อย่างใด
เพราะความสุขอย่างยิ่งนี้ไม่มีในโลกภพทั้งสามนี้แต่อย่างใด
แม้แต่จะพูดตามระดับจิตผู้ปฏิบัติ
มีที่ท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งสามนี้
เป็นผู้ปฏิบัติสมถะวิปัสสนารู้แจ้ง
ในกระสินสิบ-นิมิตสาม-รูปฌานสี่แล้วก็ตาม
จะรู้ความสุขอันยิ่งนี้ไม่ได้
เว้นไว้แต่ผู้ปฏิบัติจิตตนให้เข้าสู่ทางพระอรหันต์ได้แล้วเท่านั้น
ถึงจะรู้ความสุขอันยิ่งนี้ได้
นอกจากนี้จะหาว่ารู้นั้นย่อมไม่มี
เพราะผู้ปฏิบัติจะพึงรู้ได้จำเพาะตน
เพราะว่าเป็นจิตดวงเดียวไม่มีอีกต่อไป
จิตเป็นไฟเป็นแสงสว่างของเขาเอง
มิใช่ธาตุนะท่าน ใจเป็นลมเป็นความสงบเยือกเย็นมิใช่ธาตุนะท่าน
จิตเป็นไฟใจเป็นลมอยู่ด้วยกันเป็นรูปนิพพาน
นั้นแหละเป็นตัวตนของท่านทุกตัวคน
จิตเป็นไฟมีแต่ความสว่างโดยไม่มีเชื้อ
ใจเป็นลมโดยสงบเยือกเย็นปราศจากเชื้อ
เรียกว่าสุขอย่างยิ่ง
ฯ
|
|
-
รู้ทุกข์นั้นรู้ด้วยปัญญา
มิใช่ให้สังขารทรมานเป็นทุกข์อย่างนั้นหาได้ไม่ ปัญหารู้ซึ้งแห่งทุกข์
ปัญญาสามารถออกจากกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
ส่วนสังขารที่เป็นทุกข์ทรมานนั้น
เขาจะดับของเขาเองสังขารตายสังขารเป็นสุข
|
|